บริการสอบบัญชี

       “ กฎหมายกำหนดให้กิจการต้องจัดทำงบการเงินและต้องจัดให้ มีการตรวจสอบ และรับรองบัญชีโดยผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต(CPA) เป็นประจำทุกปี ”

       ซึ่งนอกจากบริษัทต้องจัดทำให้ถูกต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว การตรวจสอบบัญชีของบริษัทยังทำให้ผู้ใช้งบการเงินได้แก่ เจ้าหนี้ คู่ค้า รวมถึงผู้ประกอบการมั่นใจว่าข้อมูลงบการเงิน มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือเพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจในการทำธุรกิจ และวางแผนทางธุรกิจอย่างเหมาะสม


ภาพถ่ายโดย Nataliya Vaitkevich: https://www.pexels.com/th-th/photo/6120166/

 

ทำไม ? ต้องเลือกใช้บริการตรวจสอบบัญชีกับเรา

  1. เราใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบบัญชีสมัยใหม่ โดยมีการประเมินความเสี่ยงในการตรวจสอบบัญชี
  2. วางแผนการตรวจสอบบัญชี และใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตรวจสอบ ทำให้งานตรวจสอบบัญชีมีประสิทธิภาพ มากกว่าการตรวจสอบปกติ
  3. เราทำความเข้าใจธุรกิจลูกค้าก่อนตรวจสอบทำให้ลดภาระของลูกค้าในการ support ผู้ตรวจสอบบัญชี

 

เกร็ดความรู้

การตรวจสอบบัญชีคืออะไร ?

       การตรวจสอบบัญชีหรือการสอบบัญชี เป็นการตรวจสอบผลลัพธ์ของการบันทึกบัญชีของกิจการ หรือเรียกอีกอย่างว่าตรวจสอบงบการเงิน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จะตรวจสอบข้อมูลในงบการเงิน รวมถึงเอกสารประกอบการลงบัญชี และหลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงบัญชี ว่าได้ปฏิบัติตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปอย่างถูกต้องหรือไม่​

ผู้สอบบัญชีคือใคร ?

       ผู้สอบบัญชี หรือผู้ตรวจสอบบัญชี เป็นผู้ที่มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในงบการเงิน และจัดทำรายงานเพื่อแสดงความเห็นต่องบการเงินของกิจการ

กิจการแบบไหนต้องมีผู้สอบบัญชี ?

กิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ได้แก่

  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศประกอบธุรกิจในไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • มูลนิธิ สมาคม
  • นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร

       มีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน โดยงบการเงินดังกล่าวจะต้องผ่านการตรวจสอบ และแสดงความคิดเห็นจากผู้สอบบัญชีก่อนที่จะนำส่ง หรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี

 

ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบอะไรบ้าง ?

ตามหลักการแล้วผู้สอบบัญชีจะตรวจสอบอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ

1. ตรวจสอบงบการเงิน คือการตรวจสอบข้อมูลทางบัญชี และรายงานทางการเงิน เช่น งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และหมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อประเมินว่าข้อมูลดังกล่าวมีความสมบูรณ์ เชื่อถือได้ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่

โดยมีผู้สอบบัญชีทำหน้าที่ ตรวจสอบบัญชี เพื่อแสดงความเห็นต่อความถูกต้องของงบการเงินนั้น ซึ่งต้องปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานของผู้สอบบัญชีดังนี้

  • จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี
  • มาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป
  • การใช้วิจารณญาณในการสังเกต และสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ

2.ตรวจสอบการดำเนินการ คือการสอบทานขั้นตอน วิธีการปฏิบัติงาน และภาระหน้าที่ต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงานและภาระหน้าที่ในแต่ละหน่วยงาน ได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผลของงานนั้นบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

3.ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบ คือการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการปฏิบัติงานของกิจการเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแล และกฎระเบียบนโยบายขององค์กร

 

ขั้นตอนการ ตรวจสอบบัญชี ?

ขั้นตอนการ ตรวจสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่

1.กระบวนการวางแผน ประกอบด้วย การพิจารณารับงานสอบบัญชี รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ วิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น กำหนดระดับความมีสาระสำคัญ ประเมินความเสี่ยงในการ ตรวจสอบบัญชี ที่ยอมรับได้และเสี่ยงสืบเนื่อง การทำความเข้าใจระบบควบคุมภายใน และการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุมการพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม และการจัดทำแนวการสอบบัญชี

2.การปฏิบัติงานตรวจสอบ ประกอบด้วย การทดสอบการควบคุมและการตรวจสอบเนื้อหาสาระ อันได้แก่ วงจร รายได้ วงจรรายจ่าย วงจรการผลิต วงจรการลงทุน วงจรการจัดหาเงิน การตรวจสอบที่สำคัญเพิ่มเติม           

3.การเสร็จสิ้นการสอบบัญชีและการออกแบบรายงานการสอบบัญชี ประกอบด้วย การประเมินผลจากหลัก-ฐานการ ตรวจสอบบัญชี การเสนอรายการปรับปรุงและรายการจัดประเภทบัญชี การออกรายงานการสอบบัญชี

 


ภาพถ่ายโดย Mikhail Nilov: https://www.pexels.com/th-th/photo/8297810/

****งบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแล้ว ผู้ประกอบการสามารถนำไปดำเนินการทำธุรกรรมด้านอื่น ๆ ได้ เช่น*****

  • นำงบการเงินประจำปีประกอบการขอสินเชื่อกับธนาคาร เพื่อนำทุนมาขยายกิจการ หรือเป็นทุนหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกิจการ ฯลฯ
  • นำงบการเงินเสนอประกอบการรับงานประมูลงานกับหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานเอกชน
  • เป็นประโยชน์ต่อกิจการเพื่อให้ผู้บริหารได้วิเคราะห์ร่วมกันเกี่ยวกับข้อสรุปภาพรวมของงบกำไรขาดทุนประจำปี ว่ากิจการควรต้องปรับเปลี่ยน ปรับปรุงในด้านใดบ้าง

 

อัตราค่าบริการ ?

ค่าบริการในการตรวจสอบบัญชีขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น ลักษณะและความซับซ้อนของธุรกิจ ความซับซ้อนของธุรกรรมต่าง ๆ ของบริษัท ปริมาณเอกสาร รวมถึงประมาณการระยะเวลาที่ต้องใช้ในการตรวจสอบ


Powered By : zeasyweb